ประวัติอบต
ตำบลสะเนียนเป็นตำบลที่มีวัฒนธรรมหลากหลายประกอบด้วยประชาชนหลานชนเผ่า เช่น ชนพื้นเมืองภาคเหนือ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าเมี่ยน ชนเผ่าถิ่น ชนเผ่าขมุและเผ่าตองเหลือง โดยมีประวัติความเป็นมา ดังนี้
ตำบลสะเนียนแยกการปกครองมาจากตำบลถืมตองและจัดตั้งเป็นตำบลเมื่อปีพ.ศ. 2529 โดยบ้านสะเนียน หมู่ที่ 1 และบ้านเหนือวัด หมู่ที่ 2 เป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันเป็นคนพื้นเมืองภาคเหนือ ศรัทธาวัดสุรธาดาร่วมกัน
บ้านห้วยลี่ หมู่ที่ 3 และบ้านน้ำโค้ง หมู่ที่ 4 ประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงแยกเป็น 2 หมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2516 ทั้งสองหมู่บ้านประกอบด้วยประชากรชาวพื้นเมืองภาคเหนือ 70% และชนเผ่าเมี่ยน 30% ที่อพยพมาจากบ้าน ป่าแพะ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2533
บ้านสองแคว หมู่ที่ 5 เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองน่านบนถนนสายน่าน-พะเยา หลักกิโลเมตรที่ 19 ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองน่านประมาณ 15 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2544 มีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้แยกการปกครองเป็นหมู่บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 14
บ้านปางเป๋ย หมู่ที่ 6 เดิมเป็นที่พักแรมค้างคืนของพ่อค้าวัว ควาย พ่อค้าเกลือและนายพราน ที่พักบริเวณนี้มีป่าไม้พวกต้นเป๋ย (ต้นตะแบก) จานวนมากจึงเรียกสถานที่นี้ว่า “ปางต้นเป๋ย” ต่อมาคาดว่าต้นได้หายไปจึงเรียกขานต่อกันมาว่า
“บ้านปางเป๋ย”
บ้านวังตาว หมู่ที่ 7 เดิมมีผู้มาตั้งรกรากอยู่เพียง 7 หลังคาเรือน เมื่อปี พ.ศ. 2381 เป็นหมู่บ้านเก่าแก่มีอายุถึง 155 ปี ต่อมามีประชาชนจากหลายสถานที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเรื่อยๆประชาชนเป็นชาวพื้นเมืองภาคเหนือ
บ้านกาใส หมู่ที่ 8 คนส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ราบชาวพื้นเมือง ประกอบอาชีพหลักคือปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ ถั่วงา ยางพารา เป็นต้น
บ้านห้วยปุก หมู่ที่ 9 เป็นชนเผ่าขมุ อพยพมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สันนิษฐานว่าราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1-3) พม่ายกกองทัพตีเมืองเวียงจันทน์ ได้กวาดต้อนผู้คนอพยพมาเป็นเชลยเดินทางผ่านบริเวณล้านนา มีบางส่วนหลบหนีเข้าไปตั้งรกรากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน ชาวบ้านห้วยปุกอพยพมาจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายทางลำน้ำห้วยปุกซึ่งใช้เป็นชื่อของหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
บ้านกลางพัฒนา หมู่ที่ 13 เป็นชนเผ่าเมี่ยน มาตั้งรกรากเป็นชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2505 อพยพหนีภัยคอมมิวนิสต์มาจากดอยผาจิ ผาตั้ง จังหวัดพะเยา เดิมบ้านกลาง บ้านห้วยลี่ บ้านน้ำโค้งเป็นเขตการปกครองเดียวกัน ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ประชาชนจึงตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่จากเดิมบ้านกลางเป็นบ้านกลางพัฒนา
บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 14 เป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากหมู่บ้านสองแคว หมู่ที่ 5 ตาบลสะเนียน ได้รับอนุมัติจัดตั้งหมู่บ้านใหม่จากกรมการปกครองเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 หมู่บ้านใหม่เจริญสุขมีพื้นที่ประมาณ 30 ไร่
บ้านห้วยระพี หมู่ที่ 15 เป็นชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า ส่วนใหญ่ย้ายมาจากจังหวัดเชียงราย ต่อมามีชนเผ่ามูเซอ ม้ง มาอยู่รวมกันทั้งหมด 3 เผ่า ย้ายมาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านห้วยระพี ประมาณ 45 ปี สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านห้วยระพี เนื่องจากสมัยก่อนตั้งหมู่บ้านอยู่แถวริมห้วย ซึ่งมีชื่อห้วยว่า “ห้วยระพี” ชุมชนบ้านห้วยระพีเป็นหมู่บ้านที่สงบเรียบร้อยไร้ปัญหายาเสพติด ปกครองกันแบบพี่น้อง
บ้านสมุนใหม่ หมู่ที่ 16 แรกเดิมย้ายมาจากบ้านขี้ช้างบง หมู่ที่ 4 ตาบลผาช้างน้อย อำเภอปงจังหวัดพะเยา เมื่อปี พ.ศ. 2513 มาเป็นหมู่บ้านของบ้านห้วยปุก และได้แยกหมู่บ้านบ้านละเบ้ายา ตำบลถืมตอง หมู่ที่ 14 อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อยู่มาถึงปี พ.ศ. 2547 ได้แยกจากบ้านละเบ้ายามาเป็นหมู่ที่ 16
และปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ขุนน้าสะเนียน – ห้วยลู่ ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (เผ่ามลาบรี) จำนวนประชากรทั้งหมด 29 คน ประชากรชาย 18 คน หญิง 11 คน มีจำนวนครัวเรือน 8 หลังคาเรือน จำนวน 9 ครอบครัว